Licorice

ชะเอมเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Glycyrrhiza Glabra Linn ส่วนชะเอมสายพันธุ์อื่นก็จะแตกต่างกันไป ส่วนที่ใช้ทำยาในตำราแพทย์แผนไทยคือ รากหรือเหง้า ชะเอมเทศให้รสหวานดังนั้นการทำยาตำรับไทยที่เป็นยาน้ำ ส่วนมากจะใช้ชะเอมแต่งรส สรรพคุณของชะเอมที่เขียนไว้ในตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทย ระบุสรรพคุณไว้ว่า ชะเอมเทศ (ชะเอมจีน) ราก รสหวาน สรรพคุณ ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว ทำให้ชุ่มคอ

ในความเป็นจริงชะเอมเทศกับชะเอมจีนเป็นชะเอมคนละชนิดกันแต่อยู่ในวงเดียวกัน สารสำคัญต่างกันเล็กน้อย สรรพคุณก็จะต่างกันเล็กน้อย
หากจะพูดถึงสรรพคุณของชะเอมเทศในทางวิทยาศาสตร์ จะต้องดูสารสำคัญที่เด่นๆ ของชะเอมเทศ ซึ่งก็คือ Glycyrrhizin และ Liquiritin โดยจะอธิบายลักษณะของสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดดังต่อไปนี้

1. Glycyrrhizin สารที่ให้ความหวานของชะเอมและยาธาตุผสมอบเชย ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 50 เท่า ถือเป็นสารให้รสหวานสูงที่คล้าย ๆ กับหญ้าหวานแต่ความแรงของรสหวานไม่เท่าหญ้าหวาน

จากสูตรโครงสร้างของ Glycyrrhizin และผลการให้รสหวานที่มากกว่าน้ำตาลถึง 50 เท่าอาจจะมีคนถามว่า แล้วถ้านำไปใส่ในยาธาตุผสมอบเชยเป็นหนึ่งในตัวยาหลักแล้ว รสชาติของยาธาตุอบเชยจะไม่หวานแหลมจนไม่สามารถดื่มได้หรือไม่ คำตอบคือ รสชาติไม่หวานมากไป กลมกล่อมพอดีและดื่มง่าย

2. Liquiritin สารกลุ่ม Flavonoid สรรพคุณที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารคือ อาจส่งผลต้านทานความเป็นกรดในร่างกายต่อเซลล์หรืออินทรีสารที่มันไปเกาะ

หากดูจากโครงสร้างทางเคมีของสาร พบว่ามีสารที่ให้ความเป็นด่างอยู่ในโมเลกุล ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่สารสำคัญตัวที่อยู่ในชะเอมเทศจะช่วยลดความเป็นกรดในทางเดินอาหาร อีกทั้งยังอาจเป็นสารหลักที่ป้องกันเซลล์ที่ลิ้นเปิดปิดกระเพาะอาหารไม่ให้ได้รับผลกระทบจากกรดในทางเดินอาหารไปกัดกร่อนขณะซ่อมแซมตนเองอยู่

ผลของชะเอมเทศเมื่อไปผสมรวมในยาธาตุผสมอบเชยก็คือ ทำให้ยาธาตุผสมอบเชยมีรสหวานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ดื่มง่ายและกลบรสชาติอื่นๆ ที่ไม่ชวนรับประทานของยาธาตุผสมอบเชยลง อีกทั้งมีส่วนช่วยปรับค่าความเป็นกรดในทางเดินอาหารได้ในระดับหนึ่ง
แต่ถึงแม้ว่าชะเอมเทศจะให้รสหวานแก่ยาธาตุผสมอบเชยเพื่อให้ดื่มง่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการควบคุมภาวะกรดไหลย้อนให้เป็นปกติ ในยาธาตุผสมอบเชยยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่จะเสริมการทำงานของตัวยาในตำรับ เพื่อให้การบรรเทากรดไหลย้อนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Licorice ชะเอมเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Glycyrrhiza Glabra Linn ส่วนชะเอมสายพันธุ์อื่นก็จะแตกต่างกันไป ส่วนที่ใช้ทำยาในตำราแพทย์แผนไทยคือ รากหรือเหง้า ชะเอมเทศให้รสหวานดังนั้นการทำยาตำรับไทยที่เป็นยาน้ำ ส่วนมากจะใช้ชะเอมแต่งรส สรรพคุณของชะเอมที่เขียนไว้ในตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทย ระบุสรรพคุณไว้ว่า ชะเอมเทศ (ชะเอมจีน) ราก รสหวาน สรรพคุณ ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว ทำให้ชุ่มคอ ในความเป็นจริงชะเอมเทศกับชะเอมจีนเป็นชะเอมคนละชนิดกันแต่อยู่ในวงเดียวกัน สารสำคัญต่างกันเล็กน้อย สรรพคุณก็จะต่างกันเล็กน้อย หากจะพูดถึงสรรพคุณของชะเอมเทศในทางวิทยาศาสตร์ จะต้องดูสารสำคัญที่เด่นๆ ของชะเอมเทศ ซึ่งก็คือ Glycyrrhizin และ Liquiritin โดยจะอธิบายลักษณะของสารสำคัญทั้ง 3 ชนิดดังต่อไปนี้ 1. Glycyrrhizin สารที่ให้ความหวานของชะเอมและยาธาตุผสมอบเชย ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 50 เท่า ถือเป็นสารให้รสหวานสูงที่คล้าย ๆ กับหญ้าหวานแต่ความแรงของรสหวานไม่เท่าหญ้าหวาน จากสูตรโครงสร้างของ Glycyrrhizin และผลการให้รสหวานที่มากกว่าน้ำตาลถึง 50 เท่าอาจจะมีคนถามว่า แล้วถ้านำไปใส่ในยาธาตุผสมอบเชยเป็นหนึ่งในตัวยาหลักแล้ว รสชาติของยาธาตุอบเชยจะไม่หวานแหลมจนไม่สามารถดื่มได้หรือไม่ คำตอบคือ รสชาติไม่หวานมากไป […]