Cinnamon
Cinnamon (อบเชยลังกา) ที่มาของชื่อยาธาตุผสมอบเชย
คนส่วนใหญ่รู้จักอบเชยในฐานะของเครื่องแกงชนิดหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ทราบว่าอบเชยมีหลายสายพันธุ์ โดยปกติอบเชยที่จะนำมาใช้ทำยาธาตุผสมอบเชยจะใช้อบเชยเทศ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอบเชยเทศหรืออบเชยลังกา
\อบเชยเทศหรืออบเชยลังกา ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cinnamomum verum J.Presl วงศ์ Lauraceae ตามตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมบอกรสยาและสรรพคุณไว้ว่า อบเชยต้น เปลือกต้น รสหอมติดร้อน สรรพคุณ บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย จะเห็นว่าตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทย ไม่ได้กล่าวไว้เลยว่ามีรสหวานเข้ามาด้วย แต่กลับมีข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตบางแหล่งบอกว่า อบเชยมีรสหวานชุ่มเข้ามาด้วย ดังนั้นเราจะมาวิเคราะห์กันว่าแท้จริงแล้วอบเชย รสและสรรพคุณทางเคมีที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่าอบเชยเทศหรืออบเชยลังกา มีส่วนประกอบคล้ายๆ กับอบเชยสายพันธุ์อื่นๆ คือ มีส่วนประกอบ 2 ส่วนสำคัญ นั่นคือ Cinnamon oil กับ Cinnamaldehyde แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือปริมาณของสารสำคัญและความแตกต่างของสารบางตัวเท่านั้น ในบทความนี้จะขออธิบายสารสำคัญ 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังคำอธิบายดังต่อไปนี้
1. Cinnamon oil บางท่านอาจจะเรียกมันว่าน้ำมันหอมระเหยของอบเชย ซึ่งหากมองส่วนประกอบทางเคมีโดยละเอียดเราจะเห็นว่า Cinnamon oil ประกอบไปด้วยสารอาหารส่วนใหญ่ ปริมาณสารอาหารต่ออบเชยเทศ 100 กรัม มีดังนี้
- คาร์โบไฮเดรท 81 กรัม
- ใยอาหาร 53 กรัม
- น้ำตาล 2.2 กรัม
- โปรตีน 4 กรัม
- โพรแตสเซียม 431 มิลลิกรัม
- โซเดียม 10 มิลลิกรัม
จากปริมาณของสารอาหารข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นว่ารสหวานของอบเชยมาจากสารอาหารเหล่านี้ทั้งสิ้น แต่ด้วยปริมาณคาร์โบไฮเดรท 81 กรัมและน้ำตาลเพียง 2.2 กรัม หากรับประทานอบเชยที่เป็นผงก็อาจรับรสหวานได้จากลิ้น แต่หากผสมลงในสารละลายที่เป็นของเหลว เช่น น้ำ ความหวานจากอบเชยจะขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นที่ใส่อบเชยผงลงไป หากเจือจางมากเราอาจไม่ได้รับรสของอบเชยเลย
2. Cinnamaldehyde เป็นอีกหนึ่งสารสำคัญที่อยู่ในอบเชยเทศและอบเชยอื่นๆ แต่ปริมาณจะไม่เท่ากันตามสายพันธุ์และแหล่งที่ปลูก โดยสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นดังนี้
จากรูปคือ สูตรโครงสร้างโมเลกุลของ Cinnamaldehyde ส่วนประกอบของโมเลกุลมีดังต่อไปนี้
C9H8O จากข้อมูลของบางสถาบันแจ้งว่า เป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพได้
จากข้อมูลสารสำคัญของอบเชยทั้งสองตัว เราจะเห็นว่าสรรพคุณเน้นไปทางให้สารอาหารและต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพมากกว่าการปรับความเป็นกรดและด่าง และหากรับประทานอบเชยเป็นยาแคปซูลและยาน้ำก็จะไปมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพบางชนิดในทางเดินอาหารได้ แต่ทั้งนี้ไม่ควรตัดสินใจหาซื้อมาปรุงรับประทานเองโดยไม่ทราบชนิดของเชื้อจุลชีพ หากตัดสินใจหาซื้อมารับประทานด้วยตนเองอาการอาจไม่หาย
ยาธาตุผสมอบเชยกับอบเชยเทศในฐานะเป็นส่วนประกอบตำรับยา
หลายๆ ท่านอาจต้องการทราบว่า อบเชยเทศมีบทบาทอะไรในยาธาตุผสมอบเชย หากดูจากโครงสร้างของยาแล้ว ถึงแม้อบเชยเทศจะอยู่ในกลุ่มของยาหลักประจำตำรับ แต่ส่วนประกอบทางเคมีบอกเราว่า อบเชยเทศส่งผลเพียงการต้านเชื้อจุลชีพและให้รสหวานเพียงอ่อนๆ จากสารอาหารที่ได้จาก Cinnamon oil เท่านั้น เราแทบไม่เห็นคุณสมบัติการต้านทานกรดจากโครงสร้างทางเคมีของอบเชยเทศเลย รูปแบบการต้านทานกรดซึ่งต้องอาศัยความเป็นด่างอยู่ในชะเอมเทศ
ดังนั้น หากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพในทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษหรือท้องเสีย อบเชยเทศในยาธาตุผสมอบเชยจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตัวยาขึ้นอยู่กับปริมาณของยาและชนิดของเชื้อจุลชีพ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์แผนไทยผู้ชำนาญการก่อนใช้ยา
Cinnamon (อบเชยลังกา) ที่มาของชื่อยาธาตุผสมอบเชย คนส่วนใหญ่รู้จักอบเชยในฐานะของเครื่องแกงชนิดหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ทราบว่าอบเชยมีหลายสายพันธุ์ โดยปกติอบเชยที่จะนำมาใช้ทำยาธาตุผสมอบเชยจะใช้อบเชยเทศ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอบเชยเทศหรืออบเชยลังกา \อบเชยเทศหรืออบเชยลังกา ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cinnamomum verum J.Presl วงศ์ Lauraceae ตามตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมบอกรสยาและสรรพคุณไว้ว่า อบเชยต้น เปลือกต้น รสหอมติดร้อน สรรพคุณ บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย จะเห็นว่าตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทย ไม่ได้กล่าวไว้เลยว่ามีรสหวานเข้ามาด้วย แต่กลับมีข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตบางแหล่งบอกว่า อบเชยมีรสหวานชุ่มเข้ามาด้วย ดังนั้นเราจะมาวิเคราะห์กันว่าแท้จริงแล้วอบเชย รสและสรรพคุณทางเคมีที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง ก่อนอื่นเรามาดูกันว่าอบเชยเทศหรืออบเชยลังกา มีส่วนประกอบคล้ายๆ กับอบเชยสายพันธุ์อื่นๆ คือ มีส่วนประกอบ 2 ส่วนสำคัญ นั่นคือ Cinnamon oil กับ Cinnamaldehyde แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือปริมาณของสารสำคัญและความแตกต่างของสารบางตัวเท่านั้น ในบทความนี้จะขออธิบายสารสำคัญ 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังคำอธิบายดังต่อไปนี้ 1. Cinnamon oil บางท่านอาจจะเรียกมันว่าน้ำมันหอมระเหยของอบเชย ซึ่งหากมองส่วนประกอบทางเคมีโดยละเอียดเราจะเห็นว่า Cinnamon oil ประกอบไปด้วยสารอาหารส่วนใหญ่ ปริมาณสารอาหารต่ออบเชยเทศ 100 กรัม […]