Cardamon

กระวาน สมุนไพรไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและพบมากในตำรับยาไทยส่วนใหญ่ สำหรับบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกระวานให้มากขึ้น ถึงฤทธิ์ทางเคมีและการออกฤทธิ์ของมันว่า ลึกๆ แล้วสมุนไพรตัวนี้ทำอะไรได้อีกบ้าง

ก่อนอื่นสิ่งที่จะต้องทราบเกี่ยวกับกระวานคือ กระวานที่ใช้ในพื้นที่เอเชียมีอยู่ 2 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ กระวานไทยและกระวานเทศ ตามตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทย ระบุสรรพคุณของสมุนไพรตัวนี้เอาไว้เพียงว่า กระวานมี 2 ชนิด คือชนิดขาวและชนิดดำ ส่วนที่ใช้ทำยากันมากที่สุดคือ ลูก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับเสมหะ โลหิตและลม สรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยกล่าวถึงสรรพคุณโดยรวมโดยไม่แยกสรรพคุณตามชนิดของกระวาน เพื่อให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้นจำต้องไปดูข้อมูลทางเคมีของกระวานแต่ละสายพันธุ์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระวานที่ใช้ทำยาตำรับไทยบ่อยๆ มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ กระวานไทยและกระวานเทศ

กระวานไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Amomum testaceum เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง วงศ์เดียวกับขิง ชื่ออื่นๆ ได้แก่ กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันท์

กระวานเทศ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Elettaria cardamomum เป็นพืชวงศ์เดียวกับขิง

กระวานไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Amomum testaceum สารสำคัญที่มักถูกนำมากล่าวถึง คือ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าสารยูคาลิปทอล สูตรโครงสร้างทางโมเลกุลคือ C10H18O สารชนิดนี้ถูกระบุในบางสำนักว่าเป็นสารลดการอักเสบ แต่การรับประทานมากเกินไปจะก่อเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะน้ำมันหอมระเหยของกระวานไม่ทนความร้อน ในกระบวนการผลิตยาสมุนไพรส่วนใหญ่ใช้ความร้อนหรือเป็นกระบวนการก่อความร้อนที่จะทำให้สารชนิดนี้สลายตัวไปในปริมาณหนึ่ง อยู่ในปริมาณไม่ก่ออันตรายต่อร่างกาย

จากรูปคือโครงสร้างของ Cineole ลักษณะทางโครงสร้างของมัน มีความคล้ายคลึงกับ Alpha-Terpineol ซึ่งหากเราเห็นโครงสร้างของมันแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก เพราะสาร Cineole เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ Terpimeol ให้คุณสมบัติคล้ายๆ กันคือต้านการอักเสบ แต่สิ่งที่ต่างกันคือมี Oxygen เพิ่มเข้ามาในโมเลกุล

การวานเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Elettaria cardamomum จากฐานข้อมูลสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระบุสารสำคัญที่พบในกระวานเทศดังนี้ ผลกระวานเทศแห้งให้น้ำมันหอมระเหย (essential oil) ประมาณ 3.5-7% โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเมล็ด มีลักษณะเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น 1,8 cineol (20-60%) และ alpha-terpinyl acetate (20-53%), beta-pinene, linalool, sabinene, limonene, aipha-terpineol, alpha-pinene, terpinen-4-ol, linalyl acetate, geranyl acetate, geraniol, myrcene, nerolidol, nerol, beta-caryophyllene

จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในกระวานเทศพบสารสำคัญที่ใกล้เคียงกันกับกระวานไทย นั่นคือสารกลุ่ม Terpimeol มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเสียเป็นส่วนใหญ่

สำหรับสรรพคุณที่ระบุไว้ในตำราแพทย์แผนไทยและความเชื่อว่า กระวานสามารถขับลมได้นั้น มาจากการรับรสเผ็ดร้อนเล็กน้อยที่ได้รับ แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำมันหอมระเหยหากรับเข้าร่างกายมากๆ มันจะก่อลมในท้องมากกว่าขับลม และทันทีที่มีการแปรรูปสมุนไพรด้วยความร้อน เมื่อน้ำมันหอมระเหยนั้นหมดไป การก่อลมจะไม่เกิดขึ้นอีก

หากจะใช้กระวานขับลมในท้องในลำไส้ ต้องใช้กระวานสดมากกว่ากระวานแห้ง และควรหลีกเลี่ยงกระวานที่บดผงอบแห้งแล้ว เพราะสรรพคุณเรื่องของการขับลมจะหายไปจนแทบไม่เหลือ

กระวานกับยาธาตุผสมอบเชย

หากจะกล่าวถึงกระวานที่ผสมอยู่ในยาธาตุผสมอบเชยแล้ว กล่าวได้เพียงตัวยาเสริมฤทธิ์เท่านั้น ถึงแม้ว่ากระวานสรรพคุณตามที่ระบุไว้ในตำราเรียนว่าขับลม แต่หากดูขั้นตอนการผลิตยาธาตุจะเห็นว่าสรรพคุณด้านการขับลมในลำไส้ในท้องแทบไม่เหลืออยู่อีกแล้ว เพราะโดนความร้อนจากการต้มสลายน้ำมันหอมระเหยออกไป สิ่งที่คงเหลือคือสารสำคัญคือ Terpimeol ซึ่งเป็นต้านการอักเสบ และเหลือในปริมาณไม่มาก ดังนั้นกระวานจึงอยู่ในฐานะตัวยาเสริมฤทธิ์ของสมุลแว้งและข่าต้นที่มีปริมาณมากกว่า เพื่อลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร

Cardamon กระวาน สมุนไพรไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและพบมา […]