โป๊ยกั๊ก
โป๊ยกั๊ก
โป๊ยกั๊ก สมุนไพรที่คนส่วนใหญ่รู้จักมันในฐานะเครื่องแกง ชื่อภาษาไทยเรียกจันทร์แปดกลีบ ส่วนใหญ่ใช้ทำอาหารของชนชาติเอเซีย เช่น จีน อินเดีย และมลายู ตำราแพทย์แผนไทยสาขาเภสัชกรรมไทยไม่ได้มีระบุชื่อไว้เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่นิยมกันในแทบประเทศจีนและมลายูมากกว่า ส่วนประเทศไทยปัจจุบันนิยมใช้กันเป็นเครื่องแกง
โป๊ยกั๊ก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Illicium verum Hook พืชวงศ์นี้ส่วนใหญ่พบมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยที่พบคือทางใต้ที่ชุมพร สุราษฏร์ธานีและทางภาคเหนือบางจังหวัด แต่โป๊กกั๊กที่ใช้กันอยู่บ่อยๆ ทุกวันนี้คือ โป๊ยกั๊กจีน สารสำคัญที่เป็นจุดเด่นใหญ่ๆ ของสมุนไพรชนิดนี้คือ Anethole, Safrole และ Cineole ดังจะอธิบายสาระสำคัญแต่ละตัวดังต่อไปนี้
Cineole หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าสารยูคาลิปทอล สูตรโครงสร้างทางโมเลกุลคือ C10H18O สารชนิดนี้ถูกระบุในบางสำนักว่าเป็นสารลดการอักเสบ แต่การรับประทานมากเกินไปจะก่อพิษต่อร่างกาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะน้ำมันหอมระเหยของโป๊ยกั๊กไม่ทนความร้อน ในกระบวนการผลิตยาสมุนไพรส่วนใหญ่ใช้ความร้อนหรือเป็นกระบวนการก่อความร้อนที่จะทำให้สารชนิดนี้สลายตัวไปในปริมาณหนึ่ง อยู่ในปริมาณไม่ก่ออันตรายต่อร่างกาย
จากรูปคือโครงสร้างของ Cineole ลักษณะทางโครงสร้างของมัน มีความคล้ายคลึงกับ Alpha-Terpineol ซึ่งหากเราเห็นโครงสร้างของมันแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นัก เพราะสาร
Cineole เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับ Terpimeol ให้คุณสมบัติคล้ายๆ กัน คือต้านการอักเสบ แต่สิ่งที่ต่างกันคือมี Oxygen เพิ่มเข้ามาในโมเลกุล
สารสำคัญชนิดที่ 2 คือ Anethole ข้อมูลที่เปิดเผยทั่วไปบอกว่า สารสำคัญตัวนี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง แต่หากเทียบดูโครงสร้างและส่วนประกอบทางโมเลกุลของมันยังคงห่างไกลกับฮอร์โมนเพศหญิงมากนัก และหากจะเทียบสรรพคุณกับ Phytoestogen ในถั่วมันเทียบกันไม่ได้เลยในเรื่องของประสิทธิภาพในการส่งผล
หากดูจากโครงสร้างการจัดเรียงของโมเลกุล คุณสมบัติของสารนี้จะคล้ายกับ Eugenol มากกว่า ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความเรื่องของกานพลูไปแล้ว ดังนั้นสารสำคัญตัวนี้จึงมีคุณสมบัติบางประการของ Capsaicin ทำให้ออกรสในกลุ่มเผ็ดปร่าอ่อนๆ เสริมกำลังในกับ Eugenol อีกทางหนึ่ง
โป๊ยกั๊กกับยาธาตุผสมอบเชยในฐานะตัวยาช่วยในตำรับ
หากจะมองโป๊ยกั๊กที่ใส่อยู่ในตำรับยาธาตุผสมอบเชย จะอยู่ในฐานะของตัวยาช่วยในตำรับเท่านั้น เนื่องด้วยปริมาณที่ใช้น้อยกว่าตัวยาในกลุ่มตัวยาหลักอื่นๆ จึงจัดอยู่ในตัวยาช่วย และเช่นเดียวกับกานพลู รสยาหรือสารสำคัญออกฤทธิ์ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวยาหลักในปริมาณมากๆ ได้ เพราะจะขัดกับจุดประสงค์ของตำรับยา
สารสำคัญในโป๊ยกั๊กหากใช้ในปริมาณเล็กน้อยและพอดี จะกระตุ้นการขับลม สร้างเสมหะเยื่อเมือกที่ลำไส้ สารสำคัญในโป๊กกั๊กจะเข้าช่วยเสริมฤทธิ์กานพลูให้มีประสิทธิภาพในการขับลมมากขึ้น หรือในอีกแง่มุมหนึ่งคือ ช่วยป้องกันอาการท้องอืดจากฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยในยาธาตุอบเชยได้
โป๊ยกั๊ก โป๊ยกั๊ก สมุนไพรที่คนส่วนใหญ่รู้จักมันในฐานะเค […]